แผนยุทธศาสตร์สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขศรีสะเกษ จำกัด
ระยะเวลา 5 ปี
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 2560
บทสรุปผู้บริหาร
(Executive summary)
ในปี พ.ศ. 2555 เป็นปีสิ้นสุดการพัฒนาสหกรณ์ตามแผนยุทธศาสตร์การดำเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ จำกัด คณะกรรมการดำเนินการชุดที่ 20 ได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาองค์กรอย่างมีทิศทางที่แน่นอนและชัดเจน จึงได้กำหนดให้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีแผนยุทธศาสตร์นำไปใช้พัฒนาองค์กรในระหว่างปี พ.ศ.2556-2560
การจัดทำแผนปีนี้ เน้นการมีส่วนร่วมของสมาชิกสหกรณ์ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เปิดโอกาสให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ซึ่งจากเดิมนั้นการจัดทำแผนจะประกอบด้วยคณะกรรมการ ผู้ตรวจสอบกิจการ ฝ่ายจัดการและผู้แทนนายทะเบียนสหกรณ์เท่านั้น แต่ในปีนี้การจัดทำแผนได้เพิ่มกลุ่มเป้าหมายขึ้นคือ ผู้แทนสมาชิกจากทุกอำเภอๆละ 2 คนจากหน่วยงานต่างๆ ผู้แทนกลุ่มสมาชิกบำนาญ กลุ่มเกษียณราชการ กลุ่มพิเศษ และที่ปรึกษาสหกรณ์ ทั้งนี้เพื่อให้โอกาสสมาชิกได้มีส่วนร่วมการวางแผนและพัฒนาองค์กรเพิ่มมากขึ้น ตลอดจนเพื่อส่งเสริม รักษาความมั่นคงสหกรณ์ตามแนวทางหลักการสหกรณ์ นอกจากนี้ยังมุ่งเพิ่มความสำเร็จนโยบายกรมส่งเสริมสหกรณ์ตามโครงการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการสหกรณ์(CQA) เพื่อพัฒนาให้สหกรณ์เป็นองค์กรปฏิบัติงานที่ได้มาตรฐาน บริการเป็นเลิศ มีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์สูงสุดแก่สมาชิก และสร้างความเชื่อมั่นระบบสหกรณ์ต่อสมาชิก ภายใต้การรับรองคุณภาพจากองค์การภายนอก
ซึ่งจากเดิมนั้นสหกรณ์เคยมียุทธศาสตร์การบริหารงานเพียง 4 ด้าน แต่เพื่อให้เกิดความเหมาะสมในสถานการณ์ปัจจุบันและให้สอดคล้องกับหลักการสหกรณ์ จึงได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาออกเป็น 5 ด้าน ดังนี้
- ยุทธศาสตร์ด้านการจัดระบบพัฒนาศักยภาพบุคคลากร
- ยุทธศาสตร์ด้านการจัดระบบบริหารและบริการที่มีประสิทธิภาพ
- ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตสมาชิก
- ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารการเงิน
- ยุทธศาสตร์ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม
ดังนั้น การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ในปีนี้จึงขอความร่วมมือผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่านได้ร่วมแสดงความคิดเห็น ให้คำแนะนำ ร่วมคิด ร่วมทำ อย่างเต็มความรู้ ความสามารถเพื่อพัฒนาองค์กรและรักษาความมั่นคงสหกรณ์ของเราต่อไป
โดยสรุป
ปี พ.ศ. 2556 เป็นปีที่สหกรณ์ต้องจัดทำแผนพัฒนาสหกรณ์ระยะเวลา 5 ปี พ.ศ.2556 -2560 การจัดทำแผนครั้งนี้เน้นการมีส่วนร่วมของสมาชิกสหกรณ์จากทุกพื้นที่ในจังหวัดศรีสะเกษ
แผนยุทธศาสตร์สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ จำกัด
หลักการและเหตุผล
จากสภาพสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา หน่วยงานหรือองค์กร ทั้งภาครัฐและเอกชน จำเป็นต้องมีการปรับตัวเพื่อทำให้องค์กรมีความสามารถในการแข่งขันกันได้เพื่อความได้เปรียบในเชิงธุรกิจ หรือมุ่งเน้นผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ จึงต้องมีการแสวงหาเครื่องมือด้านการจัดการใหม่ๆมาช่วยในการบริหารและพัฒนาองค์กร เครื่องมือด้านการจัดการดังกล่าวที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน คือ Balanced Scorecard (BSC) โดยแนวคิดดังกล่าวจะช่วยนำกลยุทธ์ของกิจการไปสู่การปฏิบัติจริงได้ อีกทั้งยังช่วยในด้านการประเมินผลการดำเนินงานและช่วยทำให้เกิดความเข้าใจในการพัฒนาองค์กรของผู้ปฏิบัติทุกระดับ
ปัญหาที่สำคัญประการหนึ่งของการบริหารงานสหกรณ์ โดยเฉพาะสหกรณ์ออมทรัพย์ ซึ่งถือว่าเป็นองค์กรนิติบุคคล และสถาบันทางการเงินประเภทหนึ่ง คือ ปัญหาประสิทธิภาพการบริหารจัดการองค์กร ซึ่งหากเปรียบเทียบกับภาคเอกชน(สถาบันการเงิน) แล้ว สหกรณ์ออมทรัพย์โดยทั่วไปยังถือว่ามีประสิทธิภาพต่ำ ทำให้ความสามารถในการแข่งขัน(ธุรกิจ)ลดลง สาเหตุที่สำคัญเกิดจากระบบการบริหารจัดการยังไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง การใช้เทคนิคเครื่องมือการจัดการใหม่ยังไม่ถูกนำมาใช้ นอกจากนั้นวัฒนธรรมองค์กร การตัดสินใจ การลดขั้นตอนยังล่าช้า
ดังนั้นคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ จำกัด ชุดที่ 20 จึงได้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์พัฒนาสหกรณ์(ฉบับที่ 2) ระยะปานกลาง 5 ปี ( 2556 -2560 ) โดยใช้เครื่องมือ Balanced Scorecard (BSC) และการจัดทำแผนปฏิบัติการสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ จำกัด ประจำปี 2556 เพื่อให้เหมาะสม ทันสมัย สอดคล้องกับสภาพปัญหาในปัจจุบัน
วัตถุประสงค์
เพื่อให้มีเครื่องมือในการบริหารจัดการองค์กรที่ดี มีประสิทธิภาพ โดยจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา 5 ปี และแผนปฏิบัติการประจำปีของสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ จำกัด
เป้าหมาย
สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ จำกัด มีและใช้แผนยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการ
แผนยุทธศาสตร์สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสภาพเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี
แผนยุทธศาสตร์สามารถตอบสนองความต้องการของสมาชิกโดยยึดมั่นในอุดมการณ์ หลักการสหกรณ์
วิธีการดำเนินงาน
1. แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อจัดทำร่างเอกสารแผนยุทธศาสตร์สหกรณ์และแผนปฏิบัติการสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ จำกัด ปี 2556
2. คณะทำงาน วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง (SWOT Analysis) และจากการสำรวจความคิดเห็นและความต้องการของสมาชิก ทบทวนวิสัยทัศน์ พันธกิจ กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์และกลยุทธ์เพื่อการพัฒนา
3. คณะกรรมการฯ/ผู้ตรวจสอบกิจการ/ฝ่ายจัดการประชุมยกร่างแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ พ.ศ. 2556 -2560 ร่วมกันพิจารณาและกำหนดประเด็นท้าทาย กำหนดกลยุทธ์ ตัวชี้วัด(Key Performance Indicator) เป้าหมายของแต่ละเป้าประสงค์ และโครงการกิจกรรมที่จะทำให้บรรลุตามเป้าหมายและตัวชี้วัด
4. เสนอ(ร่าง)แผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ พ.ศ. 2556 -2560 ต่อที่ประชุมตัวแทนสมาชิก เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นเพิ่มเติม และพิจารณาให้ความเห็นชอบ
5. เผยแพร่แผนยุทธศาสตร์สหกรณ์ พ.ศ. 2556 -2560 ฉบับสมบูรณ์ให้สมาชิกได้ทราบทางเว็บไซต์ วารสารสหกรณ์ฯ และ การประชุมสัญจรพบปะสมาชิก
6. ขับเคลื่อนแผนไปสู่การปฎิบัติ และ ติดตามควบคุมกำกับประเมินผลการดำเนินงานตามแผนฯในที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานทุกเดือน
7. นำเสนอสรุปผลการดำเนินงานในที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี
การประเมินสภาพแวดล้อมและวิเคราะห์สถานการณ์(SWOT)
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT Analysis) ที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานในสถานการณ์ปัจจุบัน โดยใช้ 4M, 7S ในการวิเคราะห์ปัจจัยภายในที่เป็นจุดแข็ง และจุดอ่อน ใช้ PEST ในการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกที่เป็นโอกาส และอุปสรรค ด้วยการออกแบบสอบถาม ในวันประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2555 การประชุมสมาชิกสัญจร และการประชุมของคณะกรรมการดำเนินการ ผู้ตรวจสอบกิจการและฝ่ายจัดการ สรุปได้ดังนี้
การวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายใน ใช้หลักที่สำคัญ 4 M , 7 S
จุดแข็ง ( Strengths )
M 1 (man) : ด้านคน
S1 มีการกระจายอำนาจหน้าที่ชัดเจน ทำให้การบริหารจัดการ การควบคุมภายในมีประสิทธิภาพ
S2 จำนวนบุคลากรมีความเหมาะสมต่อปริมาณธุรกิจ
S3 เจ้าหน้าที่สหกรณ์มีทักษะด้านอาชีพ ตามหน้าที่และลักษณะงานที่ได้รับมอบหมาย
S4 คณะกรรมการดำเนินการ และเจ้าหน้าที่สหกรณ์ มีทัศนคติที่ดี และ มีแรงจูงใจในการทำงาน ทำให้งานเกิดผลสำเร็จ
S5 สมาชิกมีความรับผิดชอบต่อหนี้สิน มีอุดมการณ์ร่วมกัน
S6 คณะกรรมการ ผู้ตรวจสอบกิจการ และฝ่ายจัดการ มีสมรรถนะในการทำงาน
S7 สมาชิกมีการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย(social network)
S8 สมาชิกมีรายได้ที่มั่นคง และมีเงินค่าตอบแทน ทำให้สหกรณ์ได้รับชำระหนี้ตามที่เรียกเก็บทุกราย
M 2 (Money) : ด้านการเงิน
S9 สมาชิกมีรายได้ที่มั่นคง และมีเงินค่าตอบแทน ทำให้สหกรณ์ได้รับชำระหนี้ตามที่เรียกเก็บทุกราย
S10 สหกรณ์มีแนวโน้มพึ่งพาเงินทุนภายในมากขึ้น สัดส่วนทุนของสหกรณ์สูงกว่าหนี้สิน
S11 สหกรณ์มีสภาพคล่องเพียงพอต่อการบริหารจัดการ
S12 มีวงเงินกู้ยืมหรือค้ำประกัน เพียงพอต่อการก่อหนี้ผูกพันเมื่อมีความจำเป็นต้องกู้ยืมเงิน
M 3 (Material) Mettal : ด้านวัสดุอุปกรณ์ /วิธีการทำงาน
S 13 มีระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงาน ที่เหมาะสม
S14 มีกระบวนการจัดเก็บหนี้ และติดตามหนี้ อย่างเป็นระบบทำให้ไม่มีหนี้ค้างชำระ
S15 มีการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้บริการสมาชิก และ ใช้เป็นช่องทางการสื่อสารระหว่างสหกรณ์กับสมาชิก และ กรรมการ
M 4 ( Management ) : ด้านการบริหารงาน
S16 มีแผนยุทธศาสตร์ระยะปานกลาง (5ปี)และแผนปฏิบัติการขององค์กร
S 17 ระบบการบริหารงานสหกรณ์มีเอกภาพ
S 18 ระบบการบริหารงานสหกรณ์มี การควบคุม กำกับ ดูแล ตรวจสอบหลายระดับ
S 19 สมาชิกมีส่วนร่วมในการบริหารงาน
จุดอ่อน ( Weaknesses )
M 1 (man) : ด้านคน
W1 โครงสร้างด้านบุคลการยังไม่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของสหกรณ์
W2 เจ้าหน้าที่ไม่สามารถปฏิบัติงานแทนกันได้ในบางบทบาทหน้าที่
W3 เจ้าหน้าที่สหกรณ์มีทักษะด้านเทคโนโลยีไม่เพียงพอ
W4 กรรมการบางส่วนยังไม่มีความชำนาญด้านทักษะการวิเคราะห์การเงิน
W5 สมาชิกใหม่ยังไม่มีความรู้ ด้านสหกรณ์เพียงพอ
M 2 (Money) : ด้านการเงิน
W6 สัดส่วนทุนสำรองต่อสินทรัพย์ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
W7 การอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี ไม่ได้รับอนุมัติตามที่เสนอ ยังไม่เพียงพอในการ
บริหารจัดการทำให้โอกาสในการพัฒนาบุคลกรได้ไม่เต็มที่ (ผู้นำเสนออาจ
M 3 (Material) Mettal : ด้านวัสดุอุปกรณ์ /วิธีการทำงาน
W8 ระบบโปรแกรมงานสหกรณ์ขาดการพัฒนาให้ทันสมัย
W9 คอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้ปฏิบัติงานสำหรับกรรมการยังไม่เพียงพอ
W10 ขาดการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในบางกระบวนการทำงาน เช่น การจัดทำแฟ้ม
สารบรรณ
M 4 ( Management ) : ด้านการบริหารงาน
W11 ระบบการประชาสัมพันธ์เชิงรุกยังไม่ครอบคลุม
W12 การนำข้อมูลทางการเงินมาประกอบการตัดสินใจในการดำเนินงานยังน้อย
W13 ไม่มีการกำหนดค่านิยมร่วมกันในองค์กร
W14 ไม่มีการนำเสนอแผนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ และการประเมินผลการปฏิบัติตาม
ยุทธศาสตร์
การวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก ใช้หลักที่สำคัญ (PEST)
โอกาส Opportunities
P การเมือง (Political)
O1 นโยบายรัฐและกฏหมายเอื้อต่อการปฏิบัติงานของสหกรณ์
E เศรษฐกิจ( Economics )
O2 รัฐบาลปรับเพิ่มเงินเดือนข้าราชการ มีผลต่อรายได้ของสมาชิกสูงขึ้น
S สังคมและวัฒนธรรม ( Socio cultural )
O3 มีเครือข่ายพันธมิตรสหกรณ์ที่หลากหลาย
O4 ผู้บริหารหน่วยงานสาธารณสุขให้การสนับสนุนการดำเนินงานสหกรณ์
O5 หน่วยงานสหกรณ์จังหวัดศรีสะเกษให้การสนับสนุน
T เทคโนโลยี (Technology)
O6 เทคโนโลยีด้านการสื่อสารสมัยใหม่ (social network) มีความรวดเร็วขึ้นและหลากหลายช่องทาง เช่น เว็บไซต์ อีเมล เฟสบุ๊ค ฯลฯ
อุปสรรค ( Threats)
P การเมือง (Political)
-ไม่มี-
E เศรษฐกิจ( Economics )
T1 สถาบันการเงินอื่นๆ แข่งขันการปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคลสูง มีผลกระทบต่อการปล่อยเงินกู้ของสหกรณ์
T2 สภาวะเงินเฟ้อสูงขึ้น มีผลต่อการครองชีพของสมาชิก
S สังคมและวัฒนธรรม ( Socio cultural )
T3 สภาพสังคมมีผลกระทบต่อการออมของสมาชิก
T เทคโนโลยี (Technology)
-ไม่มี-
แผนยุทธศาสตร์สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขศรีสะเกษ จำกัด ( พ.ศ. 2556 2560 )
1. วิสัยทัศน์ เป็นองค์กรทางการเงินที่มั่นคง ผ่านมาตรฐานการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการสหกรณ์ ( CQA)
2. ค่านิยม ตรงเวลา มีส่วนร่วม โปร่งใส
3. พันธกิจ 1. จัดระบบบริหารและบริการองค์กรที่ดี มีคุณภาพ มาตรฐาน
2. เพิ่มจำนวนสมาชิกให้ครอบคลุมทุกกลุ่ม
3. สมาชิกมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความมั่นคงทางการเงิน
4. จัดสวัสดิการสมาชิก และช่วยเหลือสังคม
4. เป้าประสงค์
1. เป็นองค์กรที่มีความเข้มแข็งในการบริหาร บริการ มีเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย
มีโครงสร้างและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงาน
2. สมาชิกมีคุณภาพชีวิตที่ดี
3. สหกรณ์มีระบบบริหารการเงินที่มีประสิทธิภาพ
4. สหกรณ์มีบทบาทด้านการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม
5. ยุทธศาสตร์ สหกรณ์มียุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนา 5 ด้าน คือ
- ด้านการจัดระบบพัฒนาศักยภาพบุคคลากร
- ด้านการจัดระบบบริหาร/บริการที่มีประสิทธิภาพ
- ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต
- ด้านการบริหารการเงินให้มีความมั่นคง
- ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม
|